‘ กรมรางฯ’ ลุยศึกษา R-Map พัฒนาโครงข่ายรถไฟ เชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ รองรับการขนส่งไร้รอยต่อ

Last updated: 23 ธ.ค. 2564  |  219 จำนวนผู้เข้าชม  | 

‘ กรมรางฯ’ ลุยศึกษา R-Map พัฒนาโครงข่ายรถไฟ เชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ รองรับการขนส่งไร้รอยต่อ

“กรมรางฯ” ลุยศึกษา R-Map พัฒนาโครงข่ายรถไฟ เชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ–รองรับการขนส่งไร้รอยต่อ หนุนขับเคลื่อนนโยบายปี 65-66


นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเปิดตัว“โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ ครอบคลุม และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-map) วันนี้ (22 ธ.ค. 2564) ว่า จากการท่ีรัฐบาล และกระทรวงคมนาคมดำเนินการเร่งรัดผลักดันการพัฒนาระบบขนส่งทางรางมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นการขนส่งระบบหลักของประเทศ กรมการขนส่งทางราง ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศ และเสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางของประเทศ

ทั้งนี้ จึงดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม และเชื่อมโยงพื้นท่ีท่ัวประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ หรือ R-MAP เพื่อทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเท่ียว และการพัฒนาพื้นท่ี เพื่อการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นท่ีทั่วประเทศ รวมท้ังรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ

โดยจะเป็นการเช่ือมต่อโครงข่ายเดิมกับแหล่งเกษตรกรรม แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม และประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ การกระจายโอกาส การพัฒนาความเจริญสู่ระดับจังหวัด และภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินของประชาชน

“R-Map วัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟไปทั่วประเทศให้มากที่สุดแต่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ลอจิสติกส์ นิคมอุตสาหากรรมรวมถึงผ่านพื้นที่ในจังหวัดที่รถไฟไม่เคยผ่านไป ซึ่งรถไฟทางคู่เฟสแรกจะเป็นเส้นทางหลักกระจายไปทั่วประเทศ แล่วหากเฟสแรกรวมทั้งเฟส 2 แล้วเสร็จกรมการขนส่งทางรางยังได้วางแผนต่อเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเส้นทางสายย่อยที่ไม่เคยมีพื้นที่เส้นทางรถไฟผ่านมาก่อนเลย ยกตัวอย่างรถไฟ 2 เส้นทางสายใหม่ที่จะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2565 บางเส้นทางเป็นความเรียกร้องของภาคเอกชนที่อยากลดต้นทุนโลจิสติกส์ ทั้งจากนิคมอุตสาหกรรมแหล่งการเกษตร ตลอดจนนักท่องเที่ยว ดังนั้นในครั้งนี้จึงเป็นการรับฟังและรวบรวมข้อมูลนำเสนอผู้บริหารระดับสูงเร่งผลักดันต่อไป” นายพิเชฐ กล่าว

นายพิเชฐ กล่าวต่ออีกว่า โครงการ R-Map เป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนเชิงนโยบายในปี 2565-2566 ด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งทางราง เพื่อบูรณาการโครงข่ายระบบรางสร้างความสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพ ให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งผลการศึกษาท่ีได้จะนำไปจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและ เชื่อมโยงพื้นท่ีทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมีการบูรณาการร่วมกับการขนส่งระบบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบคมนาคมในภาพรวมของประเทศ

สำหรับการสัมมนา R-Map ในครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ข้อมูลโครงการ และสร้างการรับรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการแก่กลุ่มเป้าหมายให้ได้รับทราบ รวมถึงเปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อนำมาประกอบการศึกษาโครงการ โดยมีขอบเขตการศึกษา 4 ส่วน ประกอบด้วย1.การทบทวน สำรวจ รวบรวมข้อมูลผลการศึกษาและการดำเนินงานของแผนงานโครงการต่างๆ ที่เก่ียวข้อง

2.การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศฯ 3.การจัดทำแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศฯ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และ4.การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ดำเนินการศึกษาดังกล่าวเกิดความครบถ้วน สมบูรณ์ และเกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้