จ. อำนาจเจริญ 22 /2/65 ข่าว จัดสัมมนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยงทั่งไทยและภาคอีสาน

Last updated: 25 ก.พ. 2565  |  284 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จ. อำนาจเจริญ 22 /2/65 ข่าว จัดสัมมนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยงทั่งไทยและภาคอีสาน

จ. อำนาจเจริญ 22 /2/65
ข่าว จัดสัมมนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยงทั่งไทยและภาคอีสาน

นายคู่ บุญมาศ 087-2557999 ข่าว / ภาพ
กรมขนส่งรถไฟทางราง จัดสัมมนาศึกษาความเป็นไปได้ ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมทั่วไทยและเชื่อมโยงพื้นที่ภาคอีสานอุบลฯ-อำนาจเจริญ เพื่อรองรับการขนส่งอย่างไร้รอยต่อ
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมขนส่งทางราง กล่าวหลังการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ(R-Map ) โดยมีนางสุขสำรวย วันททนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมและนายธนูศินธ์ ไชยศิริ รอง ผวจ. อำนาจเจริญ พ่อค้าประชาชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้จำนวนมาก ณ.โรงแรมฝ้ายขิด จ. อำนาจเจริญ ว่า โครงการ R – Map กรมการขนส่งทางบรางศึกษาระยะเวลา 1 ปี ระหว่าง กค.2564 ถึง ก.ค. 2565 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการประชุมกลุ่มย่อมของผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาคราชการภาคเอกชนทั่วทั้งประเทศ โดยจะมีจัดทั้งหมด 5 ครั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
ภาคใต้และภาคตะวันตกโดยได้มีการจัดครั้งแรกที่กรุงเทพฯและ การจัดงานที่ จ. อำนาจเจริญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 2
ระบการคมนาคมทางรางมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย โครงการรถไฟรางคู่ ระยะที่1 และ 2 และสายใหม่ 9 เส้นทางและในอนาคตจากผลการศึกษาเบื้องต้นได้กำหนดเส้นทางรถไฟสายใหม่อีก 1 สายคือสายอุบลราชธานี – มุกดาหาร ซึ่งมีระยะทาง 173 กม. จำนวน 11 สถานีโดยโครงการดังกล่าวจะลดเวลาการขนส่งจากจังหวัดอำนาจเจริญผ่านนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีไปยังสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 จังหวัดหนองคายให้เหลือเพียง 8 ช.ม. จากเดิมต้องออ้มไปที่ชุมทางจิระก่อนและค่อยขึ้นไปทางหนองคายซี่งใช้เวลา 18 ช.ม. ทางฝั่งใต้สามารถเชื่อมต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้ ข้อดีอีกอย่างคือโครงการนี้ จะเชื่อมสะพานมิตรภาพไทย-ลาวทั้ง 3 แห่ง ที่อุบลราชธานี มุกดาหารและ

นครพนมไว้ด้วยกันซึ่งจะทำให้การค้าชายแดนมีความสะดวกและยังสมารถขนส่งผลผลิตทางการเกษตรสู่ สปป.ลาวและประเทศจีนอีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้